วิวิภาษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง บันทึกท่องโลก


                                                                             บันทึกท่องโลก                       
                   การเขียนบันทึกควรใช้ถ้อยคำภาษาที่สุภาพแม้จะเป็นบันทึกส่วนตัว..                                                                       การนำเรื่องราวเหตุการณ์เกี่ยวกับผู้อื่นมาเขียนบันทึกควรพิจารณาให้รอบอบ เช่น ไม่หมิ่นแคลนผู้ใดเพราะอาจเกิดผลกระทบที่ ไม่คาดคิดตามมา...การอ่านบันทึกส่วนตัวของบุคคลอื่นเป็นสิ่งไม่ควรกระทำ ยกเว้นกรณีเจ้าของบันทึกนั้นอนุญาตด้วยความเต็มใจ
 เราพยายามจะเก็บสะสมงานพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่เป็นการท่องเที่ยวให้ครบ
ก็เลยเจียดเงินที่ได้รับเป็นค่าใช้จ่าย ค่อยๆ ทยอยซื้อจากงานหนังสือแต่ละปีเป็นต้นมา
จนถึงทุกวันนี่ ที่ทำมาหากินเองแล้ว ก็ยังเก็บไม่ครบ แล้วก็ยังอ่านไม่ครบด้วยล่ะ
บันทึกการเดินทางของพระองค์ท่าน ย่อมไม่เหมือนบันทึกการท่องเที่ยวของนักเดินทางที่เราได้อ่าน
เพราะการเดินทางของพระองค์ คือ การศึกษาดูงาน และทรงนำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยได้ กลับมาสานต่อผ่านโครงการต่างๆ
และการที่ได้อ่านงานพระราชนิพนธ์ เราจะได้เห็น ได้เที่ยว ในสถานที่บางแห่งที่นักท่องเที่ยวธรรมดาๆ อย่างเราๆ ท่านๆ ไม่สามารถเห็นได้
ในคำนำของหนังสือเล่มนี้ ทรงพระราชนิพนธ์ถึงการเดินทางไว้ว่า 
      "
ข้าพเจ้าเองยังมีความรู้สึกว่า การสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (รวมทั้งสถานที่) ด้วย 'อินทรีย์ทั้ง 6' คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ยังมีความสำคัญต่อความรู้สึก ทำให้เกิดความรู้ที่แท้จริง ...
รัฐบาลนิวซีแลนด์สามารถจัดให้ข้าพเจ้าไปแอนตาร์กติกาได้ แต่ต้องเป็นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นต้นฤดูร้อนของเขา ถึงแม้จะรู้สึกว่าระยะเวลานี้เป็นช่วงที่ข้าพเจ้าน่าจะทำงานช่วยบ้านเมืองมากกว่าจะไปต่างประเทศ แต่เมื่อได้คุยกับท่านเอกอัครราชฑูตแล้ว ก็รู้สึกว่าการเดินทางเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดึงดูใจ และทน 'ความเย้ายวนนี้ไม่ไหว...
       'การผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ของข้าพเจ้าจึงเกิดขึ้น แม้ว่าจะเทียบไม่ได้กับนักสำรวจเช่น อามันเสน หรือกัปตันสก็อต (นักสำรวจอังกฤษ) แม้น้กวิทยาศาสตร์ของชาติต่างๆ ที่ทำงานอยู่ ณ ที่นั้น ในปัจจุบันจะมีที่พักที่ดีกว่าเก่า แต่ก็นับว่ายังยากสำหรับข้าพเจ้า ซึ่งเคยอยู่แต่ในที่อากาศอบอุ่นและสบายในการเดินทางไปแสวงหาความรู้และประสบการณ์ที่แอนตาร์กติกา...."                     
                                                                      

                                     การเขียนบันทึก

           เรื่องที่ยกมาข้างต้น คัดมาจากบันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศนิวซีแลนด์และขั้วโลกใต้หรือแอนตาร์กติกา(อ่าน แอน-ต๊าก-ติ-ก้า)พระราชนิพนธ์ในสมเด็จ-พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนที่ยกมานี้เป็นตอนที่เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรถ้ำน้ำแข็ง ที่ Mt. Erebus Glacier Tougue ซึ่งทำให้ทรงตื่นตาตื่นใจมาก
การเขียนบันทึกเป็นรูปแบบการเขียนอย่างหนึ่ง มีหลายลักษณะ อาจมีขนาดสั้นหรือยาว อาจเขียนในรูปจดหมาย อนุทิน หรือเขียนเป็นแบบใดก็ได้บันทึกอาจแบ่งคร่าวๆ ตามวัตถุประสงค์การบันทึกได้ ดังนี้
1.  บันทึกส่วนตั ผู้บันทึกจดบันทึกกิจวัตรของตนเอง บันทึกประสบการณ์หรือความรู้สึกนึกคิดของตนไว้อ่านเองเพื่อความพึงพอใจ เพื่อกันลืม หรือเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ เช่น บันทึกประจำวัน บันทึกการเดินทาง
2. บันทึกแจ้งข้อมูลข่าวสาร เป็นบันทึกเพื่อแจ้งเรื่องหรือกิจธุระแก่บุคคลภายในครอบครัวหรือแก่บุคคลอื่นๆ เป็นการสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ กึ่งทางการหรือเป็นทางการก็ได้ เช่น บันทึกสื่อสารภายในครอบครัว บันทึกการนัดหมายระหว่างบุคคล บันทึกข้อความทางโทรศัพท์ บันทึกแจ้งหรือเสนอให้ทราบหรือสั่งการให้ถือปฏิบัติภายในหน่วยงานเอกชนและราช

3. บันทึกที่เป็นทางการ อาจเป็นบันทึกของหน่วยงานต่างๆ หรือบันทึกของทางราชการ เช่น บันทึกการตรวจการอยู่เวรยาม

สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนบันทึก

              1.  บันทึกแต่สิ่งที่เป็นความจริง ไม่บิดเบือนความจริง
              2.  เขียนด้วยสำนวนภาษาของตนเองเป็นภาษาง่ายๆ มีระเบียบ
              3.  บันทึกตามลำดับเหตุการณ์
              4.  บันทึกเฉพาะสาระสำคัญว่า ใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ทำไม


              ตัวอย่างบันทึก                                                                                                                                          บันทึกข้อความจากโทรศัพท์ 

             16 ต.ค.53                         15.00น.
              เรียน คุณปัทมา
                       คุณมาลัย ร้านดอกไม่ โทรมาเรื่องดอกไม่ที่จะใช้วันเสาร์นี้ขอให้โทรกลับด่วน
              ที่ 0-2525-7346        
                                                                                           สมทรง

                                                  บันทึกเพื่อติดต่อนัดหมาย
            
    เรียน อาจารย์ที่เคารพ
             ผมมาขอคำปรึกษาจากอาจารย์ เรื่อง รายงานหนังสืออ่านนอกเวลาเพื่อจะได้จัดทำให้ดีที่สุด                                                                                                                                                                                                           เท่าที่จะทำได้ขอความกรุณาจากอาจารย์บอกเวลาที่อาจารย์สะดวกและอนุญาตให้เรียนหาได้ด้วยครับ


                                                                                    ด้วยความเคารพ

                                                          จริงใจ แสนดี

                                                        20กันยายน2553


 การเขียนบันทึกลักษณะนี้ แม้จะเป็นบันทึกขนาดสั้นก็ต้องเขียนข้อความให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ส่งสาร ความต้องการของผู้ส่สาร และวันที่ส่งสารให้ชัดเจนครบถ้วน เพื่อให้การสื่อสารได้ผลสมบูรณ์

                                                                           บันทึกการเดินทาง

  การเขียนประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นการเขียนขนาดยาว ผู้บันทึกจะเล่าเรื่องราวการเดินทางของตนถ่ายทอยแก่ผู้อ่านที่ไม่ได้เดินทางไปด้วย ผู้บันทึกจะบอกว่าเดินทางเมื่อใด  ไปที่ใด  ได้พบใคร  ประทับใจเรื่องใดบ้าง  ดังตัวอย่างบันทึกการเสด็จประพาสขั้วโลกใต้ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีที่ยกมาข้างต้น ซึ่งทรงเล่าว่าทรงประทับใจถ้ำน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้มาก
   บันทึกการเดินทางที่ดี คือ บันทึกที่บรรยายความได้ชัดเจน เป็นลำดับขั้นตอนทำให้ผู้อ่านติดตามการเดินทางได้ตลอด พรรณนาสิ่งใดก็ละเอียดลออ ทำให้เห็นภาพได้แจ่มชัด นอกจากพระราชนิพนธ์ เรื่อง แอนตาร์กติกา หนาวหน้าร้อย และพระราชนิพนธ์บันทึกการเดินทางในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีอีกหลาย




เรื่องแล้ว ยังมีตัวอย่างบันทึกการเดินทางที่มีลักษณะดังนี้อีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีผู้นิยมมาก คือ พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้านในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว ดังตอนที่คัดเลือกมาลงไว้ต่อไปนี้
                                  คืนที่ 59

                           โฮเตลเดซอัลปส์ เตอริเตอต์ สวิตเซอร์แลนด์ 

                    วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม รัตนโกสินศก 126

  หญิงน้อย

       เวลาก่อน 4 โมงครึ่ง ไปขึ้นรถไฟที่สเตชั่น รถนี้เปลี่ยนใหม่เป็นรถสวิตเซอร์แลนด์ เบาะเป็นกำมะหยี่แดงกว้างขึ้น นอนค่อยสบาย รถออกเวลา 4 โมงครึ่ง มาหน่อยหนึ่งถึงทะเลสาบเรียกว่า ลาโค แมกเคียวรี เป็นทะเลสาบอันหนึ่งในอิตาลีข้างเหนือมีหลายแห่งด้วยกัน ทะเลนี้ไม่สู้กว้างแต่ยาวมาก รถไฟเดินเลียบมาตามข้างทะเลสาบงามเสียจริงๆ แลดูเหมือนตึกลอยอยู่ในกลางน้ำ เกาะเล็กนั้นเรียกว่าเกาะประมง เป็นที่พวกหาปลาอยู่ พ้นจากทะเลสาบขึ้นมาบ้านเรือนเปลียนรูปร่างไปหมด กลายเป็นก่อด้วยหินมุงด้วยกระดานชนวน แต่ไม่ใช้ตัดเป็นเหลี่ยมสักแต่ว่าเป็นแผ่นๆ เมื่อครั้งมาคราวก่อนขึ้นทางเซนต์โคถาด ช่องนี้ยังไม่ได้ใช้ถรสติมลาก เปลี่ยนป็นรถไฟฟ้าเพื่อจะไม่ให้มีควัน แต่ก็ไม่เห็นป้องกันอะไรได้นัก มีกลิ่นเหม็นเป็นกลิ่นถ่าย ซึ่งรถทำงานต่างๆ ทั่วไปในสวิตเซอร์แลนด์เรมีสโนว์หนุ้มยอดขาวอยุ่ทั้งนั้นปากปล่องซิงปลองข้างฝ่ายสวิตเซอร์แลนด์เรียกว่าบริก พอหลุดปากปล่องออกมาก็แลเห็นต้นแม่น้ำโรน แต่เพียงทนั้นจะไม่พอเหตุด้วยสายน้ำไหลเชี่ยวคงจะกัดเซาะเขื่อนพังร่ำไป ตื้นขึ้นมามากเพราะฉะนั้นเขื่อนจึงไม่พัง น้ำในร่องก็ลึกอยุ่เสมอ

                                                                                                                             จุฬาลงกรณ์ จปร.

                                                                                                                           
                                      บันทึกเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์

        การเขียนบันทึกประเภทนี้มักมีลักษณะเป็นบันทึกขนาดยาวเช่น เรื่อง การตั้งสถานปาสเตอร์รักษาโรคพิษสุนัขบ้า ที่สมเด็จพระเจ้าบรนวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงบันทึกไว้ในนิทานโบรานคดี มีความดังต่อไปนี้
  ในปี พ.ศ. 2454 เกิดเหตุการณ์น่าสลด เมื่อหม่อมเจ้าหญิงบันลุศิริสาร ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ถูกสุนัขบ้ากัด และต่อมามีอาการโรคพิษ-สุนัขบ้ากำเริบ จนถึงแก่ชีพิตักษัยด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในขณะนั้นการรักษาโรคพิษสุนัขบ้าด้วยวิธีการแพทยแผนใหม่ยังไม่มีในประเทศ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต แล้วประกาศบอกบุญเรี่ยไร เงินทุนที่จะจัดตั้ง สถานปาสเตอร์ขึ้นในกรุงเทพ มีผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จึงได้จัดตั้งขึ้นที่ตึกของกระทรวงมหาดไทย ถนนบำรุงเมือง ใกล้โรงเลี้ยงเด็ก (บริเวณที่เป็นสถานที่ตรวจโรคปอด กองควบ-คุมวัณโรคในปัจจุบัน ) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน2456 ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงมหาดไทย ทำการผลิตวัคซีนและให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จนกระทั่งเดือนสิงหาคม พ.ศ.2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้กิจการของสถานปาสเตอร์ มาสังกัดสภากาชาดไทยภายใต้ชื่อกองวิทยาศาสตร์ สภากาชาดไทย แต่ยังคงอาศัยสถานที่เดิม เป็นที่ทำการชั่วคราว
       เนื่องในการถวาย พระราชทานเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2463 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคำนึงถึงพระคุณูปการของสมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงพระราชปรารภใคร่จะสร้างสิ่งซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ให้ยั่งยืนอยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นที่เชิดชูพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมราชชนนี คู่กันกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อันเป็นสถานที่เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกาธิราช จึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มอบให้สภากาชาดไทย เพื่ออำนวยการสร้างตึกหลังใหญ่หลังหนึ่งที่มุมถนนสนามม้าติดต่อกับถนนพระราม เพื่อใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของกองวิทยา-ศาสตร์ สภากาชาดไทย
       พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามสถานที่แห่งใหม่นี้ว่า " สถานเสาวภา " และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ธันวาคม พ.ศ.2465

                                     บันทึกเหตุการณ์สำคัญครั้งหนึ่งในชีวิต

บันทึกประเภทนี้ ผู้เขียนจะเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจเป็นเหตุการณ์สำคัญบางตอนในชีวิต และเป็นอุทาหรณ์เตืองใจผู้อ่านบันทึก ความสั้นยาวของบันทึกอยู้ที่ผู้เขียนว่าจะบรรยายหรือพรรณนาเหตุการณ์ละเอียดลออเพียงใดดังตัวอย่างต่อไปนี้ เช่น




ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม